วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สะพานจุฬาลงกรณ์ กับ ประวัติศาสตร์ที่สาปสูญ


ปัจจุบันสะพานจุฬาลงกรณ์ เป็นสะพานรถไฟ ทอดข้ามลำน้ำแม่กลอง ควบคู่กับสะพานธนะรัตน์อันเป็นสะพานสำหรับรถยนต์ เชื่อมตัวเมืองราชบุรี ผ่านศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สู่ถนนเพชรเกษม ที่จะออกสู่กรุงเทพฯ หรือล่องใต้ต่อไป... หลายคนคงรับรู้เรื่องราวของสะพานจุฬาลงกรณ์เพียงเท่านี้ แต่จะมีสักกี่คนที่รับรู้ว่า ใต้สะพานแห่งนั้น มีหัวรถจักรไอน้ำ นอนสงบนิ่งอยู่ใต้ลำน้ำแม่กลอง สงบนิ่งอยู่กับบางเศษเสี้ยวของประวัติศาสตร์ที่ขาดหายไป แต่เดิม การคมนาคมขนส่งจากนครหลวง คือ กรุงเทพฯ ลงสู่ภาคใต้เป็นไปอย่างยากลำบากมาก จนล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้มีกิจการรถไฟ เฉพาะสำหรับสายใต้ได้เชื่อมถนนรถ ไฟ จากสถานีรถไฟบางกอกน้อยไปถึงสถานีรถไฟเพชรบุรี ทรงโปรดให้มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองสำหรับทั้ง รถยนต์ และรถไฟ และทรงเสด็จเปิด พร้อมพระราชทานนาม "สะพานจุฬาลงกรณ์" เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔ จากนั้นเป็นต้นมา การคมนาคมขนส่ง จากกรุงเทพฯ มาราชบุรี สู่ภาคใต้จึงสะดวกมากยิ่ง ๆ ขึ้น
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ แถบเอเชียก็เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา.....เช้าวันที่ ๘ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ กองทัพญี่ปุ่นอันเป็นฝ่ายอักษะ ได้ยกพลขึ้นบกที่ฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อใช้ไทยเป็นทางผ่าน เข้ายึดประเทศพม่า ซึ่งขณะนั้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ฝ่ายสัมพันธมิตร ศัตรูของตน กองทหารไทยแม้มีกำลังอ่อนด้อยกว่าทั้งจำนวนกำลังพลและปืนไฟ แต่ก็ได้ต่อสู้อย่างเต็มกำลัง ทหารไทยยิงข้าศึก จนกระสุนปืนหมด ต้องติดดาบปลายปืน ออกตลุมบอน เกิดวีรกรรมอาจหาญ ดังวีรกรรมของ "จ่าดำ" ซึ่งปัจจุบันมีอนุสาวรีย์ของท่านอยู่ที่ค่ายวชิราวุธ กองบัญชา การกองทัพภาคที่ ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ด้วยความอ่อนด้อยกว่าในทุกด้าน ท้ายที่สุดกองทัพญี่ปุ่นก็สามารถ เคลื่อนพลจากนครศรีธรรมราช ผ่านสุราษฎร์ธานี - ชุมพร - ประจวบคีรีขันธ์ - เพชรบุรี - ราชบุรี สู่กาญจนบุรี ซึ่งที่กาญจนบุรี กองทัพญี่ปุ่นต้องเกณฑ์เชลยศึกมาสร้างสะพาน เพื่อยกพลทางรถไฟเข้าสู่พม่า เกิดตำนาน "สะพานข้ามแม่น้ำแคว" มีเชลยศึกล้มตาย เพราะการณ์นี้เป็นจำนวนมาก
มีคำถามที่ชวนให้ค้นหากันมากว่า ที่กาญจนบุรีไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำแควเพื่อเข้าสู่พม่า ญี่ปุ่นต้องสร้างสะพาน ข้ามแม่น้ำแคว และฝ่ายสัมพันธมิตรก็ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดสะพาน แต่ที่ราชบุรี เส้นทางที่ญี่ปุ่นผ่านเข้าสู่กาญจนบุรี มีแม่น้ำแม่กลองขวางกั้น และมีสะพานจุฬาลงกรณ์อยู่แล้ว ญี่ปุ่นซึ่งเคลื่อนพลส่วนใหญ่ด้วยรถไฟ จะเคลื่อนผ่านราชบุรีไปได้อย่างไร ถ้าไม่ผ่านสะพานจุฬาลงกรณ์ ? คำถามนี้ชวนให้สงสัยมากขึ้น เมื่อมีผู้ค้นพบหัวรถจักรไอน้ำนอนสงบนิ่งอยู่ใต้ผืนน้ำแม่กลอง ใต้สะพานจุฬาลงกรณ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ หัวรถจักรนี้เกี่ยวข้องอะไรหรือไม่กับสงครามมหาเอเชียบูรพา ถ้าเกี่ยวข้อง หัวรถจักรไอน้ำนี้ เป็นของฝ่ายใด สัมพันธมิตรหรืออักษะ และถ้าเกี่ยวข้องกับสงครามมหาเอเชียบูรพาจริง เป็นไปได้หรือไม่ที่จะกระผม้หัวรถจักรนี้ขึ้นมาให้เป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยว มารำลึกถึงมหาสงครามครั้งนั้นที่ราชบุรีกันบ้าง นอกเหนือจากที่ กาญจนบุรีแล้ว

แต่พื่อคลี่คลายเรื่องนี้ ม.ร.ว.กำลูนเทพ เทวกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีในสมัยนั้น (พ.ศ.๒๕๓๕) ได้มีหนังสือที่ รบ ๐๐๑๕.๑/๒๑๒๗๖ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๓๕ ถึงเจ้ากรมการทหารช่าง ขอความร่วมมือในการกระผม้หัวรถจักรไอน้ำ แต่เนื่องจากขาดงบประมาณ จึงไม่สามารถดำเนินการได้ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี ได้เสนอเรื่องการกระผม้หัวรถจักรไอน้ำต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในสมัยนั้น ซึ่งก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ ประกอบด้วยพลโทวิษณุ อุดมสรยุทธ เจ้ากรมการทหารช่าง เป็นประธาน โดยมีกรรมการจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการได้ประชุมเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ณ กองบัญชาการกรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังษี ส่วนที่ ๑ ผลการประชุม คือ ทุกฝ่ายเห็นด้วยกับการที่จะนำหัวรถจักรขึ้นมา แต่ต้องศึกษาถึงผลได้ผลเสียกับงบประมาณที่ต้องใช้ และประการสำคัญ จะมีปัญหาต่อสะพานจุฬาลงกรณ์ และสะพานธนะรัตน์ที่สร้างขึ้นภายหลังนี้หรือไม่ ?
.....ถึงวันนี้ สะพานจุฬาลงกรณ์ ก็ยังคงรับใช้คนราชบุรี คนภาคใต้ และคนทั่วไปที่นิยมเดินทาง โดยรถไฟ สะพานจุฬาลงกรณ์ยังคงทอดตัวข้ามลำน้ำ เหมือนเมื่อ ๑๐๓ ปีก่อน หากแต่ใต้สะพานแห่งนี้ ใต้พลิ้วคลื่นแห่งลำแม่กลอง หัวรถจักรไอน้ำยังคงนอนสงบนิ่ง เก็บงำความลับแห่งอดีตกาล..... เป็นบาง เศษเสี้ยวของประวัติศาสตร์........ที่ขาดหายไป.......

6 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ12 กุมภาพันธ์, 2555 20:10

    แล้วจะมีใครกู้รถจักรไอน้ำไหมครับ

    ตอบลบ
  2. ตอนนี้ไม่มีหน่วยงานใดรับเป็นเจ้าภาพในเรื่องนี้เลยครับ

    ตอบลบ
  3. เมื่อวานเพิ่งนั่งรถไฟผ่านสะพานจุฬาลงกรณ์

    ตอบลบ
  4. เมื่อวานเพิ่งนั่งรถไฟผ่านสะพานจุฬาลงกรณ์

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ19 พฤษภาคม, 2565 15:50

    ขับรถผ่านไปเมื่อวาน น่าสนใจมาก ค่ะ ที่จริงนั่งรถไฟขึ้น ลง อยู่หลายครั้งแล้ว เพิ่งมารู้ประวัติศาสตร์ ยิ่งน่าค้นหา

    ตอบลบ